ซิฟิลิส

รู้จักโรคไว้เพื่อป้องกัน

โรคซิฟิลิส (Syphilis)

เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Treponema Polidum เกิดได้ที่บริเวณช่องคลอด ทวารหนัก และปาก หากไม่รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ ส่งผลต่อระบบประสาท หัวใจ สมอง ระบบต่างๆ ของร่างกาย และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

ปัจจุบันพบผู้ติดเชื้อโรคซิฟิลิสเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มวัยรุ่น และกลุ่มรักร่วมเพศ รวมไปถึงผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ ซึ่งส่งผลให้พบทารกติดเชื้อตั้งแต่กำเนิดเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย โรคซิฟิลิสสามารถรักษาให้หายขาดได้ หากพบว่าตนเองมีความเสี่ยง ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโดยเร็ว ซิฟิลิสสามารถป้องกันได้ เพียงตรวจเลือด และการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างถูกวิธี

อาการของโรคซิฟิลิส

  • มีแผลริมแข็งบริเวณริมฝีปาก
  • ผื่นขึ้นที่ฝ่ามือ
  • เป็นแผลที่อวัยวะเพศ
  • มีแผล/ผื่น ขึ้นตามร่างกาย
  • แผลริมอ่อนที่อวัยวะเพศ
  • แผลในลิ้น

ในปัจจุบัน พบมากที่สุดในกลุ่มวัยรุ่น อายุระหว่าง 15-24 ปี  เนื่องจากเป็นวัยเจริญพันธุ์ มีเพศสัมพันธ์เร็ว และยังขาดความเข้าใจเรื่องเพศศึกษา โดยเฉพาะเรื่องของการมีเพศสัมพันธ์กับคนแปลกหน้าหรือเพศสัมพันธ์แบบคืนเดียว (One night stand) บางคนอาจคิดว่าตนไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงเนื่องจากไม่ได้เปลี่ยนคู่นอนบ่อย จึงไม่ใช้ถุงยางอนามัย แต่ในความเป็นจริง การมีเพศสัมพันธ์ทุกรูปแบบโดยไม่สวมถุงยางอนามัย ถือว่ามีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ทั้งสิ้น

นอกจากกลุ่มเสี่ยงดังกล่าวแล้ว เชื้อซิฟิลิสยังสามารถติดต่อจากแม่ที่ติดเชื้อแล้วไม่ได้รับการรักษาสู่ทารกในครรภ์ โดยผ่านทางรกอีกด้วย ส่งผลให้ทารกเกิดมามีความผิดปกติ เช่น ปากแหว่งเพดานโหว่ ตาบอด สมองเล็ก หรือแม้กระทั่งเสี่ยงเสียชีวิตจากภาวะหัวใจล้มเหลว

อาการของโรคซิฟิลิส

บริเวณอวัยวะเพศ  ริมฝีปาก ลิ้น  และหัวนม  โดยตุ่มขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จนแตก เป็นแผล  ไม่มีอาการเจ็บ หากปล่อยทิ้งไว้เชื้อจะเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบ ระยะนี้เป็นระยะที่ยังไม่แสดงอาการเนื่องจากแผลและอาการต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบโตจะค่อยๆ หายไป ผู้ป่วยจึงมักนิ่งนอนใจว่าไม่ได้เป็นอะไร

ส่งผลให้เกิดผื่นลักษณะเป็นตุ่มนูนขึ้นตามร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า ไม่มีอาการคัน  เรียกระยะนี้ว่า “ระยะออกดอก”   บางครั้งอาจพบเนื้อตายเน่า มีน้ำเหลืองไหล  ซึ่งมีเชื้อซิฟิลิสปน จึงเป็นระยะติดต่อโรคได้ง่าย แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจไม่แสดงอาการใดๆ  มีเพียงไข้ เจ็บคอ หรือปวดเมื่อยตามข้อเท่านั้น ซึ่งเชื้อสามารถสงบอยู่ตามอวัยวะต่างๆ  นานหลายปี เพียงแต่ตรวจพบว่ามีผลบวกของเลือดสูงมาก

มารดาที่ตั้งครรภ์และเป็นโรคในระยะนี้ เชื้อซิฟิลิสสามารถติดต่อไปยังทารกในครรภ์ได้

รวมถึงอาจส่งผลให้ ตาบอด หูหนวก ใบหน้าผิดรูป สมองเสื่อมหรือเสียสติ เป็นอัมพฤกษ์อัมพาต ถ้าเชื้อลามไปถึงหัวใจ จะทำให้หัวใจล้มเหลว และเสียชีวิต

การป้องกันและรักษา

แม้จะไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่โรคซิฟิลิสก็สามารถกลับมาระบาดอย่างรวดเร็ว หนึ่งในเหตุผลหลักคือ ผู้ป่วยไม่ใส่ใจป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วยการใช้ถุงยางอนามัย ไม่ระมัดระวังเรื่องการเลือกคู่นอน ใจร้อนอยากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่คิดวางแผนป้องกันใดๆ รวมถึงไม่เคยเข้ารับการตรวจโรค นอกจากนี้ผู้ติดเชื้อมักไม่แสดงอาการอย่างเด่นชัดจนกว่าจะเป็นระยะสุดท้าย ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้ตัวกลายเป็นพาหะของโรคไปโดยไม่ตั้งใจ

ดังนั้นผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพทางเพศเป็นประจำทุกปี แม้จะไม่มีอาการใด ๆ แสดงก็ตาม  โรคซิฟิลิสอาจจะดูรุนแรงแต่ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้