PM 2.5 ภัยเงียบ ที่ไม่ควรมองข้าม
pm 2.5 ฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอนม ีอันตรายและมีผลกระทบต่อสุขภาพ午後2.5 ในบรรยากาศทั่วไป
pm 2.5 ฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอนม ีอันตรายและมีผลกระทบต่อสุขภาพ午後2.5 ในบรรยากาศทั่วไป
โรคพร่องเอนไซม์ G6PD พันธุกรรมจากพ่อแม่สู่ลูก โรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากภาวะขาดเอนไซม์ G6PD (glucose-6-phosphate dehydrogenase) ซึ่งเป็นเอนไซม์สำคัญในเซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกายโดยเฉพาะเซลล์เม็ดเลือดแดง มีหน้าที่ช่วยป้องกันเซลล์ต่างๆ จากการทำลายของสารอนุมูลอิสระ ผู้ที่มีภาวะขาดเอนไซม์นี้จึงมีเซลล์เม็ดเลือดแดงที่แตกง่ายเมื่อได้รับสิ่งกระตุ้นต่างๆ เช่น อาหารบางชนิด ยาบางชนิด ภาวะติดเชื้อ ทำให้เกิดอาการต่างๆ ตามมา สาเหตุของโรคพร่องเอนไซม์ G6PD โรคนี้เป็นโรคถ่ายทอดทางพันธุกรรมชนิดหนึ่ง โดยมีการถ่ายทอดแบบยีนด้อยของโครโมโซมเอ็กซ์ (X-linked recessive) จากมารดาสู่ทารก ทำให้ลูกชายมีโอกาสที่จะมีภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD ร้อยละ 50 ส่วนลูกสาวมีโอกาสที่จะเป็นพาหะของโรคนี้ร้อยละ 50 อาการของโรคพร่องเอนไซม์ G6PD เมื่อผู้ที่มีภาวะนี้ได้รับการกระตุ้นให้เกิดการแตกของเม็ดเลือดแดง จะมีอาการต่างๆ ดังนี้ ผิวซีดจาง อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ตัวเหลือง ตาเหลือง ในทารกแรกเกิดที่มีภาวะนี้อาจเกิดภาวะตัวเหลืองตั้งแต่แรกเกิด ปัสสาวะมีสีเข้มคล้ายน้ำโคล่าหรือน้ำปลา ตับหรือม้ามโต ปวดหัวบ่อยๆ ปัจจัยกระตุ้นให้เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก อาหารบางชนิด เช่น พืชตระกูลถั่วโดยเฉพาะถั่วปากอ้า บลูเบอรี่ ไวน์แดง สารเคมี เช่น ลูกเหม็น การบูร เมนทอล สารหนู ยาบางชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะในกลุ่มซัลฟา ควิโนโลน แอสไพริน ยารักษามาลาเรีย ยากันชัก ยารักษาโรคหัวใจบางชนิด การติดเชื้อต่างๆ เช่น ไวรัสตับอักเสบ ไข้เลือดออก ไข้หวัด ผู้ที่มีภาวะนี้ควรปฏิบัติตัวอย่างไร ? หลีกเลี่ยงการซื้อยาหรืออาหารเสริมทานเอง แจ้งแพทย์และเภสัชกรทุกครั้งว่ามีภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่กระตุ้นให้เม็ดเลือดแดงแตก หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเคมีบางชนิด รักษาสุขภาพให้แข็งแรง หลีกเลี่ยงการติดเชื้อ เมื่อมีไข้ ควรสังเกตุอาการซีดเหลือง สังเกตุสีของปัสสาวะ และควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษา หลีกเลี่ยงภาวะต่างๆ ที่ทำให้เกิดความเครียด หรือการออกกำลังที่หักโหมเกินไป
กินเค็ม เสี่ยงโรค คนไทยส่วนใหญ่จะมีพฤติกรรมการเติมเครื่องปรุงรส เช่น น้ำปลา เกลือ หรือซอสปรุงรส ในการประกอบ อาหารหรือเติมลงในอาหารโดยตรง เพื่อเพิ่มรสชาติของอาหาร ทำให้คนไทยเสี่ยงได้รับปริมาณโซเดียมเกินกว่า ความต้องการในแต่ละวัน ส่งผลให้ร่างกายได้รับโซเดียมในปริมาณสูงเกินความต้องการ จึงต้อง ขับโซเดียมส่วนที่เกินออกจากร่างกาย แต่โซเดียมยังเป็นสารที่จำเป็นต่อร่างกาย โซเดียมเป็นแร่ธาตุสำคัญที่เกี่ยวกับ สมดุลน้ำของร่างกาย ซึ่งจะได้รับจากอาหารเป็นหลัก ร่างกายไม่สามารถขาดโซเดียมได้ จึงยังต้องบริโภคอยู่ภายใต้ การจำกัดในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ควรบริโภคเกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน หรือประมาณ 1 ช้อนชา และถ้าหากเปลี่ยน เกลือเป็นน้ำปลา ไม่ควรบริโภคน้ำปลาเกิน 4 ช้อนชาต่อวัน การกินอาหารรสเค็มมีข้อเสียหลายประการ และเป็นหนึ่งในสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหาสุขภาพต่างๆ เช่น ความดันโลหิตสูง การบริโภคโซเดียมมากเกินไปสามารถเพิ่มระดับความดันโลหิต ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หัวใจและหลอดเลือดเกิดความตึงเครียด ปัญหาเกี่ยวกับไต การบริโภคเกลือมากเกินไปอาจสร้างภาระให้กับไต อาจทำให้ไตเสียหายหรือทำให้ภาวะไตแย่ลงได้ ภาวะน้ำคั่ง การบริโภคเกลือในปริมาณสูงอาจทำให้ร่างกายกักเก็บน้ำไว้เกิน ทำให้ท้องอืดและบวม โดยเฉพาะที่มือ เท้า และข้อเท้า เพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูงซึ่งเป็นผลมาจากการบริโภคเกลือมากเกินไปเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญสำหรับโรคหัวใจ รวมถึงอาการหัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมอง โรคกระดูกพรุน เกลือในอาหารมากเกินไปอาจทำให้ร่างกายขับแคลเซียมออก ซึ่งจำเป็นต่อการรักษากระดูกให้แข็งแรง ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนได้ ปัญหาการย่อยอาหาร อาหารรสเค็มอาจทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารระคายเคือง นำไปสู่ปัญหาทางเดินอาหาร เช่น กรดไหลย้อน โรคกระเพาะ และแผลในกระเพาะอาหาร ลดการกินเค็ม ลดเสี่ยงโรค เลี่ยงการบริโภคอาหารรสจัด ปรับพฤติกรรมการกินโดยลดการปรุงรสเค็มลงทีละน้อย อ่านฉลากก่อนซื้อทุกครั้ง นำเครื่องปรุงรสออกจากโต๊ะอาหาร ชิมก่อนปรุงทุกครั้ง ลดการกินน้ำจิ้มต่างๆ ใช้เครื่องเทศสมุนไพรแทนเครื่องปรุง เลี่ยงกินอาหารที่ผ่านกระบวนการแปรรูปต่างๆ เช่น ขนมขบเคี้ยวต่างๆ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ไส้กรอก ปลาเค็ม ผักดอง บริโภคอาหารแหล่งโปแตสเซียม เช่น ผักใบเขียวเข้มและผลไม้เพื่อลดความดันโลหิตลง ฝึกนิสัยไม่ให้กินเค็ม
นิ่วในไต โรคที่คนไม่ค่อยรู้จัก เป็นภาวะที่มีการก่อตัวของแร่ธาตุแข็งและเกลือสะสมในไต การสะสมเหล่านี้เรียกว่านิ่วในไต ขนาดและรูปร่างอาจแตกต่างกันไป และอาจประกอบด้วยสารต่างๆ เช่น แคลเซียม ออกซาเลต กรดยูริก และซีสทีน นิ่วในไตอาจทำให้เกิดอาการปวดอย่างรุนแรงเมื่อเคลื่อนผ่านทางเดินปัสสาวะ ซึ่งนำไปสู่อาการต่างๆ เช่น ปวดหลังหรือปวดท้อง ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะบ่อย และรู้สึกแสบร้อนขณะปัสสาวะ การรักษาอาจจะการใช้ยาเพื่อช่วยให้ก้อนนิ่วเคลื่อนผ่าน การดื่มน้ำมากๆ เพื่อล้างนิ่วออก หรือในกรณีที่รุนแรงกว่านั้น การผ่าตัด สิ่งสำคัญคือต้องปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสม อาการของนิ่วในไต ปัสสาวะเป็นเลือด หรืออาจมีสีแดง ชมพู และน้ำตาล ปัสสาวะแล้วเจ็บ ปวดปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะน้อย ปัสสาวะขุ่นหรือมีกลิ่นแรง คลื่นไส้ อาเจียน หนาวสั่น เป็นไข้ นิ่วในไตป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาพของตัวเอง โดยวิธีที่ดีที่สุดและทำได้ง่าย ๆ คือ การดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวันเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ และเป็นการลดความเข้มข้นของปัสสาวะซึ่งเสี่ยงต่อการพัฒนาไปเป็นนิ่วในไตทั้งนี้ น้ำผลไม้ ชา และกาแฟเองก็ดื่มทดแทนน้ำได้ แต่การดื่มน้ำก็ยังคงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในการป้องกันนิ่วในไต
โรคอ้วน ขึ้นง่ายลดยาก ภาวะที่ร่างกายมีการสะสมไขมันมากเกินกว่าปกติหรือมากเกินกว่าที่ร่างกายจะเผาผลาญ จึงสะสมพลังงานที่เหลือเอาไว้ในรูปของไขมันตามอวัยวะต่างๆ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพ และเป็นสาเหตุของการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ ตามมา สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอ้วน แบ่งออกเป็น ปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก ซึ่งส่วนใหญ่แล้วผู้ที่เป็นโรคอ้วน มักมีสาเหตุจากปัจจัยภายนอก เพราะมีพฤติกรรมการรับประทานที่ตามใจตนเอง จนทำให้รับประทานเกินความต้องการของร่างกาย สาเหตุของโรคอ้วน การรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ การเลือกบริโภคอาหารที่มีแคลอรีสูง ไขมันอิ่มตัว น้ำตาล และอาหารแปรรูปเป็นประจำอาจจะทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นและเป็นโรคอ้วนได้ ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตในแต่ละวัน การขาดการออกกำลังกายและดำเนินชีวิตแบบนั่งประจำอาจทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นและเป็นโรคอ้วนได้ การใช้เวลามากเกินไปในการนั่งหรือทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวน้อยที่สุดอาจส่งผลให้ได้รับแคลอรี่มากเกินไปและใช้พลังงานน้อยลง ปัจจัยทางพันธุกรรม บุคคลบางคนอาจมีความโน้มเอียงทางพันธุกรรมต่อโรคอ้วน ทำให้ยากขึ้นสำหรับพวกเขาที่จะรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันมักจะมีผลต่อโรคอ้วนได้ เช่น การรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ปัจจัยทางจิตใจ ปัจจัยทางอารมณ์ เช่น ความเครียด ความหดหู่ และความเบื่อ อาจนำไปสู่การกินมากเกินไปหรือใช้อาหารเป็นกลไกในการเผชิญปัญหาหรือเพื่อลดความเครียดอาจจะมีผลต่อน้ำหนักและเกิดโรคอ้วนตามมาในอนาคต ยา ยาบางชนิด เช่น ยากล่อมประสาท ยารักษาโรคจิต คอร์ติโคสเตียรอยด์ และยาฮอร์โมนบางชนิด อาจทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็นผลข้างเคียง การนอนพักผ่อนไม่เพียงพอ การนอนพักผ่อนที่ไม่เพียงพอสามารถรบกวนการควบคุมฮอร์โมนของร่างกายอาจจะนำไปสู่ความหิวและความอยากอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น หากมองเพียงเรื่องน้ำหนักมาก ขนาดตัวที่ใหญ่ ใส่เสื้อผ้าไม่มั่นใจ ล้วนเป็นเรื่องของบุคลิกภาพ ความสวยความงาม นับว่ากลายเป็นเรื่องเล็กไปเลย หากเทียบกับสิ่งที่จะตามมาเมื่อเป็นโรคอ้วน นั่นก็คือ “โรคร่วมจากความอ้วน” ซึ่งเกิดจากไขมันที่สะสมตามอวัยวะต่างๆ ตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า และยิ่งอ้วนมากยิ่งจะมีโอกาสเสียชีวิตได้เร็วกว่าคนทั่วไปเฉลี่ยประมาณ 7-10 ปี การตระหนักรู้และดูแลตนเองให้ห่างไกลจากโรคอ้วน คือสิ่งสำคัญ เพราะไม่ใช่แค่ตัวเลขบนตราชั่ง แต่คือการมีสุขภาพดีในระยะยาว
มะเร็งปากมดลูก อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม Human Papillomavirus (HPV) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบบ่อยในประเทศไทยเป็นที่แพร่หลายอย่างมาก และมะเร็งปากมดลูกเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญการติดเชื้อ HPV ที่มีความเสี่ยงสูงในสตรีไทยที่มี CIN 2-3 (รอยโรคระยะก่อนเป็นมะเร็ง) ที่พบมากที่สุดในผู้หญิงไทยที่มี CIN 2-3 คือ HPV 16 (38.5%) และ HPV 58 มะเร็งปากมดลูกเป็นหนึ่งในมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิงไทย และการติดเชื้อ HPV เป็นสาเหตุหลักนอกจากนี้ HPV ยังเชื่อมโยงกับมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์อื่น ๆ และมะเร็งศีรษะและคอในประเทศไทย ดังนั้นจึงมีความจำเป็นสำหรับการตรวจคัดกรองเชื้อ HPV อย่างสม่ำเสมอและการรณรงค์เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญในตรวจหาเชื้อ HPV และป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ HPV การติดเชื้อ HPV อาจได้รับอิทธิพลจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้ กิจกรรมทางเพศ HPV ส่วนใหญ่ติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ได้แก่ การมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก และทางปาก การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางเพศที่ไม่ได้ป้องกันกับคู่นอนที่ติดเชื้อจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อ HPV การมีคู่นอนหลายคน การมีคู่นอนหลายคนจะเพิ่มโอกาสในการสัมผัสกับผู้ที่มีเชื้อ HPV ยิ่งคุณมีคู่นอนมากเท่าใด ความเสี่ยงต่อการสัมผัสไวรัสก็จะยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง บุคคลที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้ติดเชื้อ HIV/AIDS หรือกำลังรับการบำบัดด้วยการกดภูมิคุ้มกัน จะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HPV มากกว่า ระบบภูมิคุ้มกันมีบทบาทสำคัญในการกำจัดไวรัสออกจากร่างกาย อายุ การติดเชื้อ HPV พบได้บ่อยในคนหนุ่มสาวที่มีเพศสัมพันธ์ วัยรุ่นและวัยหนุ่มสาวมีความเสี่ยงสูงเนื่องจากกิจกรรมทางเพศที่เพิ่มขึ้นและโอกาสในการสัมผัสเชื้อไวรัส สุขอนามัยส่วนบุคคล การปฏิบัติด้านสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ไม่ดีอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HPV การใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดตัวหรือมีดโกนกับผู้ติดเชื้ออาจแพร่เชื้อไวรัสได้ การไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกัน การไม่ได้รับวัคซีน HPV จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HPV และ วัคซีน HPV มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันการติดเชื้อ HPV ชนิดที่พบบ่อยที่สุดซึ่งเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ เช่น มะเร็งปากมดลูก ความสำคัญในการตรวจหาเชื้อ HPV บางครั้งการติดเชื้อ HPV อาจนำไปสู่การเกิดมะเร็งบางชนิด โดยเฉพาะมะเร็งปากมดลูก หากได้รับการตรวจหาเชื้อ HPV อย่างสม่ำเสมอจะสามารถช่วยตรวจหาการติดเชื้อ HPV ได้อย่างรวดเร็วซึ่งจะทำให้สามารถเข้ารับการรักษาทางการแพทย์ได้ทันท่วงที บางคนอาจมีความเสี่ยงสูงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับ HPV เช่น ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอหรือมีประวัติการตรวจ Pap smear ที่ผิดปกติ การตรวจหา HPV สามารถช่วยตรวจหาการติดเชื้อ HPV และระบุการติดเชื้อ…
การลดน้ำหนักของคน กรุ๊ปเลือด O คนกรุ๊ป O เป็นกรุ๊ปที่มีระบบการย่อยอาหารจำพวกเนื้อได้ดีกว่ากรุ๊ปอื่นๆ และน้ำย่อยในระบบย่อยอาหารมีความเป็นกรดสูง แต่ระบบบเผาผลาญไม่ค่อยดี ระดับฮอร์โมนไทรอยด์ไม่ค่อยคงที่จึงทำให้อ้วนง่าย และพบปัญหาเลือดแข็งตัวช้า เนื่องจากระดับฮอร์โมนไทรอยด์และสารไอโอดีนในร่างกายค่อนช้างต่ำ ซึ่งสารไอโอดีนนั้นเป็นสารประกอบที่ช่วยควบคุมฮอร์โมนไทรอยด์ หากขาดไปอาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียงค่างๆได้ เช่น โรคอ้วน และสภาวะบวมน้ำ ดังนั้นคนกรุ๊ป O ควรเน้นการทานอาหารประเภทโปรตีนและไอโอดีนสูง เช่น อาหารทะเล หรือสาหร่ายทะเลเพิ่มขึ้น ซึ่งการรับประทานอาหารทะเลได้เป็นประจำจะสามารถช่วยในการป้องกันโรคเลือดไม่แข็งตัวและไทรอยด์ แต่ต้องระวังเรื่องไขมันและ คอเลสเตอรอลด้วย อาหารที่คนกรุ๊ป O ควรหลีกเลี่ยง อาหารประเภทแป้งสาลี ข้าวโอ๊ต และถั่วต่างๆ ส่วนผักตระกูลกะหล่ำควรหลีกเลี่ยงเพราะมีผลต่อไทรอยด์ เห็ดหอมและมะกอกดองอาจจะทำให้เกิดอาการแพ้ มะเขือยาวและมันฝรั่งอาจจะทำให้เกิดอาการปวดข้อ ควรเลี่ยงแคนตาลูป มะพร้าว และส้มเพราะกรดสูงเกินไป อาหารที่แนะนำให้คนกรุ๊ป O รับประทาน สำหรับผักผลไม้ทานได้แทบทุกชนิด ผักกาดคอส ปวยเล้ง หอมหัวใหญ่ สาหร่าย โดยเฉพาะบรอกโคลี ผักโขม ที่มีวิตามิน K สูง จะสามารถช่วยในการแข็งตัวของเลือด โดยเฉพาะผลมืที่มีสีแดงตระกูลเบอร์รี่ (ยกเว้นแบล็อคเบอร์รี่) ตระกูลเกรปฟรุต จะช่วยเรื่องลดน้ำหนัก เครื่องดื่มที่เหมาะสมกับคนกรุ๊ป O น้ำสับปะรด เพราะจะช่วยอุ้มน้ำของเซลล์ในร่างกาย หรือน้ำแบลคเชอรี่ จัดว่าเป็นเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพของคนกรุ๊ป O เพราะเป็น High alkaline juice ทำให้ลดการระคายเคืองของกระเพาะอาหาร ส่วนถ้าเป็นการดื่มชาสมุนไพรนั้น ชาบางชนิดก็สามารถดูแลสุขภาพคนกรุ๊ป O ได้ดี เช่น Licoria ช่วยเรื่องของกระเพาะอาหาร Peppermint, Parsley, Rosehips, Saraparilla ช่วยลดความเครียด และควรเลิกดื่มกาแฟตอนเช้าเนื่องจากจะเป็นการเพิ่มกรดในกระเพาะให้เพิ่มมากขึ้น เคล็ดลับการไดเอทสำหรับชาวกรุ๊ป O คือระหว่างการลดน้ำหนักควรหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกถั่ว ธัญพืช และขนมปัง ซึ่งจะทำให้น้ำหนักขึ้นง่ายกว่าปกติ และเลือกทานเนื้อสัตว์มีไขมันมันน้อยแทน
โรคไข้เลือดออก ภัยจากยุงลาย โรคติดต่อที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue Virus) โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งมี 4 สายพันธุ์ ได้แก่ DENV-1, DENV-2, DENV-3 และ DENV-4 ซึ่งเป็นโรคที่ต้องระวังในช่วงหน้าฝน เนื่องจากการเพิ่มจำนวนของยุงลายซึ่งเป็นพาหะของโรค ส่งผลให้เกิดการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว โรคไข้เลือดออกแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะไข้ (2-7 วัน) ผู้ป่วยจะมีไข้สูงเฉียบพลันตลอดเวลา ปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูก ไม่มีน้ำมูกหรือไอ มีจุดเลือดเล็กบริเวณแขน ขา ลำตัว รักแร้ อาจเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายอุจจาระสีดำร่วมด้วย ระยะวิกฤติ (24-48 ชั่วโมง) ระยะนี้ไข้ที่สูงจะเริ่มลดลง แต่อาการจะทรงตัว ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อนอาการจะเริ่มดีขึ้น แต่ถ้ามีภาวะแทรกซ้อนอาการจะแย่ลง อาจมือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเบาลง ความดันต่ำ เลือดออกง่าย อาเจียนเป็นเลือดฯลฯ อาจร้ายแรงถึงขั้นช็อกจนเสียชีวิต ดังนั้นหากมีไข้สูงติดต่อกันเกิน 2 วันแล้วอาการยังแย่ลง แนะนำให้รีบพบแพทย์ทันที ระยะฟื้นตัว (หลังไข้ลด 24-48 ชั่วโมง) เมื่ออาการพ้นระยะวิกฤติและเริ่มดีขึ้น ผู้ป่วยจะกลับมามีความดันปกติ ชีพจรเต้นตามปกติ รับประทานอาหารได้มากขึ้น แต่อาจมีผื่นแดง คัน และจุดเลือดเล็กตามลำตัว ซึ่งจะค่อย ๆ หายไปเอง แนวทางการรักษาไข้เลือดออก การรักษาโรคไข้เลือดออกไม่มียารักษา แต่เป็นการรักษาตามอาการและความรุนแรง หากสังเกตได้เร็ว รู้เร็ว ดูแลตัวเองได้เร็ว ย่อมช่วยให้หายได้ในเวลาไม่นาน และป้องกันอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต วิธีป้องกันไข้เลือดออก การป้องกันโรคไข้เลือดออกสามารถทำได้โดยป้องกันไม่ให้ยุงกัด สวมเสื้อผ้าให้มิดชิด ทาโลชั่นหรือพ่นสเปรย์กันยุง เก็บของให้เป็นระเบียบ กำจัดแหล่งพาหะ ภาชนะเก็บน้ำมีฝาปิดเสมอ เปลี่ยนน้ำในแจกันหรือกระถางทุก ๆ 7 วัน และฉีดวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกตามคำแนะนำของแพทย์ กลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นไข้เลือดออกแล้วอาการรุนแรง คนทุกเพศทุกวัยสามารถเป็นไข้เลือดออกได้ แต่กลุ่มเสี่ยงที่เมื่อเป็นแล้วอาการจะรุนแรงมากกว่ากลุ่มอื่น ได้แก่ ผู้สูงอายุ เพราะภูมิต้านทานต่ำและมีโรคประจำตัวหลายโรค ผู้ที่เป็นโรคอ้วน และผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน หัวใจ ความดันโลหิตสูง ธาลัสซีเมีย เป็นต้น
ตรวจภูมิแพ้ด้วยการเจาะเลือด มีข้อดีอย่างไร โรคภูมิแพ้ เกิดจากการอักเสบของอวัยวะในแต่ละส่วนของร่างกาย มักพบได้ในเด็กเล็กถึงเด็กโต โดยในแต่ละช่วงวัยจะพบโรคภูมิแพ้ที่แตกต่างกันออกไปการทดสอบภูมิแพ้ทำโดยวิธีใดได้บ้าง วิธีการทดสอบภูมิแพ้ 2 วิธี 1. การทดสอบโดยการสะกิดผิว (Skin prick Test) คือการนำสารสกัดภูมิแพ้มาหยอดลงบนผิวหนัง โดยตำแหน่งที่นิยมทำ คือ ท้องแขนหรือหลัง จากนั้นใช้ปลายเข็มสะกิดเพื่อให้น้ำยาสามารถซึมเข้าสู่ใต้ผิวหนัง สังเกตปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายต่อสารก่อภูมิแพ้ ประมาณ 15-20 นาที 2. การทดสอบโดยการเจาะเลือดตรวจค่าการแพ้ต่อสารก่อภูมิแพ้โดยตรง (Specihc IgE) ซึ่งสามารถตรวจได้ทั้งภูมิแพ้อาหาร เช่น นมวัว ไข่แดง ไข่ขาว แป้งสาลี ถั่ว และภูมิแพ้ทางอากาศ เช่น ไรฝุ่น ขนสุนัข ขนแมว ข้อดีของการทดสอบโดยการเจาะเลือด สามารถทดสอบในเด็กที่ไม่สามารถทำโดยการสะกิดทางผิวหนังได้ เช่น ผู้ที่มีอาการแพ้รุนแรงจำเป็นต้องใช้ยาแก้แพ้ต่อเนื่องไม่สามารถหยุดยาได้ ผู้ที่เคยมีการแพ้อย่างรุนแรงต่อสารที่ต้องการทดสอบ เช่น เคยแพ้อาหารที่สงสัย หรือสารที่ต้องการทดสอบอย่างรุนแรงชนิด anaphylaxis มาก่อน การทดสอบผิวหนังแบบสะกิดอาจกระตุ้นให้มีอาการได้ขณะทดสอบ ดังนั้นการเจาะเลือดจึงเหมาะสมกว่า สามารถทำในเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือนได้
5 โรคมะเร็งยอดฮิต ที่คนไทยเป็นมากที่สุด 1. มะเร็งตับ เป็นโรคที่พบมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ซึ่งพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงถึง 3 เท่า ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 30- 70 ปี โรคมะเร็งตับในระยะแรกมักไม่แสดงอาการ ซึ่งกว่าจะได้รับการวินิฉัยก็มักจะอยู่ในท้ายโรคและไม่สามารถรับการรักษาได้ทัน ส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตมากที่สุด มะเร็งตับมีสาเหตุหลักคือ การได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบ การดื่มแอลกอฮอล์ รับสารพิษอะฟลาท็อกซิน (Aflatoxin) การรับยาบางชนิด และพันธุกรรม เป็นต้น 2. มะเร็งปอด ปัจจุบันมะเร็งปอดเป็นโรคมะเร็งที่พบมากในประเทศไทย โดยพบในเพศชายเป็นอันดับ 2 และในเพศหญิงเป็นอันดับ 4 พบว่าสาเหตุหลักของมะเร็งปอดมาจากการสูบบุหรี่ หรือรับควันบุหรี่ โดยอาการเริ่มแรกมักมีการไอเสมหะหรือไอมีเลือด เจ็บหน้าอก หายใจดังและถี่ ความอยากอาหารลดลง เป็นต้น 3. มะเร็งปากมดลูก เป็นหนึ่งในโรคมะเร็งที่สร้างความกังวลใจให้กับผู้หญิงจำนวนมาก เนื่องจากเป็นโรคที่มีโอกาสเกิดได้ง่าย จึงไม่น่าแปลกใจที่ในแต่ละปีจะพบผู้ป่วยรายใหม่มากถึง 500,000 คนทั่วโลก และยังเป็นอันดับต้นๆ ของโรคมะเร็งในผู้หญิงไทย มักพบในช่วงอายุ 30-70 ปี 4. มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับที่ 1 ของโรคมะเร็งที่พบได้ในผู้หญิง โดยประมาณ 90% ของมะเร็งเต้านมเกิดจากต่อมน้ำนมและท่อน้ำนม ส่วนมากจึงจะพบในหญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปี 5. มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักถือเป็นมะเร็งยอดฮิตอีกชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยและเป็นสาเหตุแห่งการเสียชีวิตในลำดับต้น ๆ ของผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมดในประเทศไทย เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับทุกวัยโดยเฉพาะคนทำงาน อาการของมะเร็งลำไส้ใหญ่มักปรากฏให้เห็นเช่น อุจจาระมีเลือดปน น้ำหนักลด มีอาการลำไส้อักเสบเรื้อรัง เป็นต้น