Long COVID-19

มีอาการแบบไหน?

Long COVID หรือมีชื่อเต็มว่า Long term effect of COVID -19 ซึ่งเป็นกลุ่มอาการของคนที่หายจากโควิด-19 แล้วแต่ยังต้องเผชิญกับอาการที่หลงเหลืออยู่ ถึงแม้เชื้อโควิดหายจากร่างกายไปแล้ว แต่บางอาการกลับไม่หายไปด้วย อาการลองโควิดจะมีอาการแตกต่างกันไปในแต่ละคน เป็นอาการที่ไม่มีลักษณะตายตัว สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วร่างกาย

การรายงานจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐอเมริกา (CDC) ถึงอาการที่พบบ่อยหลังการติดเชื้อโควิด-19 (รูปภาพข้างล่าง) แบ่งออกเป็นหลายกลุ่มอาการ ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของระบบประสาท ระบบหลอดเลือดและหัวใจ ระบบไต ระบบทางเดินหายใจ ระบบกล้ามเนื้อกระดูก และระบบการแข็งตัวของเลือด ทำให้ผู้ที่หายป่วยบางรายยังไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ปกติเหมือนเดิม อาการลองโควิดมีโอกาสเกิดขึ้นได้ 30-50% จากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่รักษาหายแล้ว โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการป่วยรุนแรง ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยหลายๆ คน เหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว ปวดตามข้อ กล้ามเนื้อไม่มีแรง ไอเรื้อรัง การรับรสและได้กลิ่นผิดปกติ รู้สึกเหมือนมีไข้ ปวดศีรษะ มึนศีรษะ นอนไม่หลับ ความจำไม่ดี ไม่มีสมาธิ มีภาวะวิตกกังวล ซึมเศร้า เครียด ใจสั่น แน่นหน้าอก ท้องเสีย ท้องอืด

บีบีซี อ้างข้อมูลของสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติของอังกฤษ  (National Health Service: NHS) รายงานว่า Long COVID เป็นอาการเกิดขึ้นต่อเนื่องยาวนานหลายสัปดาห์ หลังจากติดเชื้อโควิด ซึ่งมักจะดีขึ้นภายใน 12 สัปดาห์ แต่ในบางรายสามารถพบอาการที่ยังหลงเหลืออยู่ได้ยาวนานกว่านั้น มักพบในผู้ป่วยอายุระหว่าง 35-49 ปี และอายุระหว่าง 50-69 ปี ร้อยละ 20 ผู้ป่วยจะเข้าข่ายนี้ หลังจากรับเชื้อไปแล้ว 5 สัปดาห์ กลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นภาวะ Long COVID ผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อโควิด-19 และมีภาวะปอดอักเสบรุนแรง ผู้ที่มีโรคประจำตัว ผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วน เพศหญิงมีความเสี่ยงกว่าเพศชาย  

อาการที่ตามมาหลังหายป่วยจากโควิด-19

ใครบ้างเสี่ยงเป็นภาวะลองโควิด

ภาวะลองโควิดเป็นภาวะที่เกิดกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่รักษาหายแล้ว โดยมีโอกาสเกิดขึ้นได้ประมาณ 30 – 50% นอกจากนี้ในบางงานวิจัยพบว่าผู้ป่วยถึงครึ่งหนึ่งมีอาการของภาวะ Long COVID อย่างน้อยหนึ่งอาการ โดยผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงเป็นภาวะลองโควิด มีดังนี้

ตรวจภาวะลองโควิด เพื่อการรักษาได้ไว ป้องกันระยะยาว

ผู้ที่หายจากโควิด-19  ต้องสังเกตตัวเองอย่างละเอียด ประเมินร่างกายตนเองอยู่เสมอ และฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายอย่างถูกต้อง หากมีอาการดังกล่าวข้างต้นที่รบกวนการใช้ชีวิต แนะนำให้พบและปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุอย่างละเอียด และอาจจะต้องมีการตรวจเพิ่มเติมเพื่อทำการรักษาให้ตรงกับปัญหาที่เกิดขึ้น อย่าปล่อยทิ้งไว้จนรุนแรงและเรื้อรัง ซึ่งนำไปสู่การสูญเสียโอกาสในการรักษาและส่งผลเสียต่อสุขภาพที่มากขึ้นนั่นเอง

อาการลองโควิดในผู้ที่มีโรคประจำตัว

ผู้ป่วยโรคหัวใจ

ผู้ป่วยโรคหัวใจมีโอกาสที่จะมีอาการรุนแรงและมีภาวะแทรกซ้อนสูงกว่าผู้ป่วยทั่วไป เมื่อร่างกายพยายามต่อต้านเชื้อไวรัส อาจจะทำให้ “เกิดภูมิต้านทานของตัวเองต่อกล้ามเนื้อหัวใจและต่อเยื่อหุ้มหัวใจ” ซึ่งส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรง ทำให้การบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจลดลง หากอยู่ในภาวะลองโควิดอาจจะมีอาการใจสั่น เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นผิดจังหวะ

ผู้ป่วยโรคเบาหวาน

 เชื้อไวรัสโควิด-19 จะเข้าไปยับยั้งการทำงานของเซลล์ที่ตับอ่อน ที่มีหน้าที่สร้างอินซูลินให้แก่ร่างกาย โดยผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนมากมักเกิดจากการขาดอินซูลินในร่างกาย เมื่ออินซูลินในร่างกายลดลงจะทำให้อาการของโรคเบาหวานรุนแรงมากกว่าเดิม ซึ่งอาการที่พบได้ในผู้ใหญ่จะมีอาการหิวน้ำบ่อย ปากแห้ง คอแห้ง ปัสสาวะบ่อยขึ้น และในเด็กมักมีอาการหายใจเร็วขึ้น เหนื่อย และอาการหอบหายใจไม่ทัน

ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ

การติดเชื้อไวรัสจะทำให้เกิดอาการปอดอักเสบ และเชื้อไวรัสทำให้เกิดการอุดกั้นในถุงลมซึ่งส่งผลต่อการเแลกเปลี่ยนและการลำเอียงออกซิเจน ซึ่งทำให้กระแสเลือดในร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ  นอกจากนี้ยังทำให้เกิดรอยโรคแผลเป็นหรือพังผิดต่างๆ ในปอด ทำให้ปอดแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้ไม่ดีเท่าเดิม ซึ่งอาการที่แสดงออกคือ หายใจได้ไม่เต็มปอด เหนื่อยง่าย ไม่สดชื่น ไอเรื้อรัง

ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีความกังวลเกี่ยวกับอาการของตนเองว่าจะมีอาการรุนแรง แรงร้าย หรือมีภาวะแทรกซ้อนหรือไม่ นอกจากนี้ผู้ป่วยบางรายที่รักษาตัวในห้อง ICU สามารถเกิดอาการผิดปกติทางจิตใจหลังจากประสบสถานการณ์กระทบกระเทือนจิตใจรุนแรง ได้ ในต่างประเทศพบว่า 1 ใน 4 ของผู้ที่หายจากโควิด จะพบความผิดปกติด้านจิตใจ ได้แก่ ภาวะวิตกกังวล ภาวะนอนไม่หลับ และปัญหาด้านอารมณ์ ซึ่งผู้ป่วยบางรายอาจจะพบหลายอาการร่วมกัน

รายการตรวจโปรแกรมสุขภาพผู้ป่วยลองโควิด ในคลินิกเทคนิคการแพทย์ยูแล็บ

การตรวจวัดระดับภูมิตอบสนองชนิด IgG ต่อ Spike protein ของเชื้อโควิด-19 เพื่อทราบระดับภูมิตอบสนองของร่างกายภายหลังฉีดวัคซีน หรือหลังติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ควรเจาะเลือดตรวจภูมิตอบสนองหลังฉีดวัคซีนครบโดสแล้ว 14-28 วัน (ขึ้นกับชนิดวัคซีนที่ฉีด) แต่ไม่ควรนานเกิน 3 เดือน

การรายงานผลตรวจ

กรณีผลการตรวจเป็น Reactive ไม่ได้หมายความว่าท่านจะไม่ติดเชื้อ หรือไม่แพร่เชื้อให้บุคคลอื่น ดังนั้น ยังคงแนะนำให้ปฏิบัติตัวตามแนวทางป้องกันการติดเชื้ออย่างเคร่งครัด

กรณีผลการตรวจเป็น Non-reactive หลังจากได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น เก็บตัวอย่างก่อนการสร้างภูมิตอบสนอง เป็นผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ชนิดของวัคซีน และภาวะการตอบสนองของร่างกายในแต่ละบุคคล

รูปแสดงการตอบสนองของภูมิคุ้มกันในร่างกายหลังการติดเชื้อไวรัสโควิด-19

1 การตรวจวัดระดับไทรอยด์

ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ (Hypothyroidism) เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ในระยะแรกอาจไม่มีอาการแสดงใดๆ แต่ต่อมาอาจแสดงอาการต่าง ๆ เช่น มีภาวะอ้วน การทำงานของหัวใจผิดปกติ ปวดตามข้อต่าง ๆ หรือเกิดภาวะมีบุตรยาก ทั้งนี้การศึกษาก่อนหน้า พบโรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือด หัวใจ โรคอ้วน และโรคความดันโลหิตสูง ส่งผลต่อการพยากรณ์โรคโควิด 19 การศึกษาผลของภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ต่อพยากรณ์โรคโควิด 19 จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อใช้ในการวางแผนการรักษาให้ได้ประสิทธิภาพ

ฮอร์โมน Thyroid stimulating hormone (TSH) เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า ทำหน้าที่กระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ Thyroid gland สร้างฮอร์โมน T3 (triiodothyronine) และ T4 (thyroxine) ค่า TSH จะขึ้นกับระดับไทรอยด์ฮอร์โมน หากต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนด้วยตัวเอง ค่า TSH จะต่ำ แต่หากไทรอยด์ฮอร์โมนไม่สามารถสร้างฮอร์โมนได้ ค่า TSH จะสูง ถ้าพบค่าผิดปกติแนะนำให้ปรึกษาแพทย์

ค่าปกติ 0.4001 – 4.049 mIU/L

– ฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมไทรอยด์

Total T3   ค่าปกติ 0.970–1.69 ng/mL

Total T4   ค่าปกติ 5.53–11.0 ug/dL

Free T3   ค่าปกติ 2.77–5.27 pg/mL

Free T4   ค่าปกติ 0.78–2.19 ng/dL

 

รูปแสดงการทำงานของระบบไทรอยด์ และภาวะความผิดปกติ

C-Reactive Protein (hsCRP) เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่สร้างขึ้นจากตับเพื่อตอบสนองต่อการอักเสบในร่างกาย โดยสารเคมีชนิดนี้จะจับเข้ากับเซลล์ที่ตายแล้ว หรือเซลล์ที่เสียหายรุนแรงและกำลังจะตาย ก่อนเข้าช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันเพื่อเสริมสร้างแมคโครฟาจ (macrophage) เซลล์เม็ดเลือดขาวที่ช่วยกำจัดเซลล์ผิดปกติหรือสิ่งแปลกปลอม ทำให้การตรวจหาค่า C-Reactive Protein (hsCRP) ถูกนำมาใช้ตรวจวินิจฉัยภาวะอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือการติดเชื้ออื่นๆ ซึ่งค่า CRP ที่สูงจะบอกได้ถึงประสิทธิภาพการฟื้นฟูของร่างกายหลังการติดเชื้อที่ไม่ดีเท่าที่ควร

ค่าปกติ 1.0-1.5 mg/dL

 

รูปแสดงตัวบ่งชี้การอับเสบที่เกิดขึ้นหลังจากการติดเชื้อ

เพราะเชื้อไวรัสจะส่งผลให้ “เบต้าเซลล์” หรือเซลล์ที่พบในกลุ่มของเซลล์ในตับอ่อน ซึ่งมีหน้าที่ในการผลิตและหลั่งอินซูลินเกิดความเสียหาย ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดหรือ Blood sugar สูงขึ้น โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานอยู่ก่อนแล้ว แม้แต่ในผู้ป่วยโควิดที่เชื้อลงปอด อาการป่วยระดับรุนแรง ที่ผลจากการทดลองพบว่ายาสเตียรอยด์ช่วยลดโอกาสการเสียชีวิตในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจและใช้ออกซิเจนได้ แต่ในขณะเดียวกัน ยาสเตียรอยด์ก็อาจส่งผลให้ระดับน้ำตาลสะสมในเลือด หรือ HbA1C ของผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นด้วย

ค่าปกติ Blood sugar อยู่ระหว่าง 70 -106 mg/dL

ค่าปกติ HbA1c น้อยกว่า 5.7%

รูปแสดงระดับค่า HbA1c ในภาวะที่มีการสะสมน้ำตาลในกระแสเลือด

วิตามินดีไม่ได้แค่ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพ แต่จากผลการศึกษาพบว่า วิตามินดีมีส่วนช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้น ซึ่งอาจเป็นผลมาจากคุณสมบัติของวิตามินดีที่มีช่วยในการซัพพอร์ตการทำงานระบบประสาทและสมอง การทำงานของปอด รวมถึงสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด

ค่าปกติ 20-100 ng/mL

รูปแสดงกระบวนการสร้างและสาเหตุภาวะพร่องวิตามินดี

จากข้อมูลของ UC Davis Health ศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านหัวใจและหลอดเลือดในอเมริกา พบว่าผู้ป่วยประมาณ 20-30% ที่เข้ารับการรักษาโควิด 19 ประสบปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ อาจได้รับผลกระทบโดยตรงจากเชื้อไวรัสที่ส่งผลให้เกิดการอักเสบ หรือเป็นผลกระทบทางอ้อมที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันพยายามต่อสู้เชื้อไวรัส และกระตุ้นหลั่งสารไซโตไคน์ออกมามากเกินไป เมื่อโปรตีน ACE2 ที่เคลือบผิวเซลล์ กำลังถูกเชื้อไวรัสเข้าแทรกแซงและไม่สามารถปกป้องเซลล์หัวใจได้  สารภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นจึงกลายเป็นผู้ร้ายเข้าทำลายหัวใจซะเอง ซึ่งการอักเสบที่เกิดขึ้นนี้จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอ หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงอย่าง “หัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน” ได้

– การตรวจโปรตีนที่เป็นองค์ประกอบของกล้ามเนื้อหัวใจที่มีความจำเพาะต่อการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหัวใจ (Troponin I – high sensitivity)

ค่าปกติ 0.012 – 0.034 ng/mL

– ตรวจเอ็นไซม์ซีเค (Creatine Kinase) ใช้ตรวจเพื่อช่วยวินิจฉัย หรือติดตามการรักษา โรคกล้ามเนื้ออักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจ และหัวใจขาดเลือด เป็นต้น

ค่าปกติ ผู้ชาย: 55-170 Units/L ผู้หญิง: 30-135 Units/L

รูปแสดงตัวบ่งชี้ความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ และกล้ามเนื้อหัวใจฉีดขาด

ปกติแล้วปริมาณแคลเซียมในเลือดของผู้ใหญ่ จะมีค่าปกติอยู่ที่ 8.4-10.2 mg/dL หากตรวจพบว่ามีค่าแตกต่างไปจากนี้ อาจเข้าข่ายภาวะแคลเซียมในเลือดผิดปกติ โดยแบ่งออกเป็น

– ภาวะแคลเซียมในเลือดสูงกว่าปกติ ภาวะนี้มักเกิดจากภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรง ต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมากเกินไป

– ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ เกิดจากการที่ร่างกายสูญเสียปริมาณแคลเซียม หรือไม่สามารถดูดซึมแคลเซียมจากอาหารได้เท่าที่ควร หรือมีระดับวิตามินดีในร่างกายต่ำ ทำให้ดูดซึมแคลเซียมได้ยากขึ้น

1. โคเลสเตอรรอลโดยรวม (Total Cholesterol)

วัตถุประสงค์ของการตรวจวัดระดับไขมันในเลือดเพื่อใช้บ่งชี้ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ โรคสมองขาดเลือดจากการอุดตัน หรือตีบตันของ เส้นเลือด และใช้ติดตามการรักษาในผู้ป่วยที่ได้รับยาลดระดับไขมันในเลือด

ค่าปกติ < 200 mg/dL

2. ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)

เป็นไขมันที่ถูกเก็บสะสมในร่างกายในเซลล์ไขมัน (adipose Tissue) ทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานให้แก่ร่างกาย ปกติจะตรวจควบคู่กับ ไขมันตัวอื่นๆ

ค่าปกติ < 150 mg/dL

3. ไขมันดี (HDL-Cholesterol)

เป็นไขมันชนิดที่ทำหน้าที่เก็บกลับ cholesterol จากอวัยวะต่างๆ กลับเข้าสู่ตับซึ่งเป็นศูนย์กลางของกระบวนการสลายของไขมัน เรียก HDL-cholesterol ว่า ไขมันดี

ค่าปกติ >40 mg/dL (ผู้หญิง), >50 mg/dL (ผู้ชาย)

4. ไขมันไม่ดี (LDL-Cholesterol)

เป็นไขมันชนิดที่ทำหน้าที่นำพา cholesterol ในกระแสเลือดเรียก LDL-cholesterol ว่า ไขมันไม่ดี

 ค่าปกติ < 130 mg/dL แต่ถ้าให้ดีที่สุดอาจจะ < 100 mg/dL

1. Blood urea nitrogen (BUN)

เป็นของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญโปรตีนในร่างกาย และจะถูกกำจัดออกผ่านทางไต เมื่อปริมาณ BUN ในเลือดสูงขึ้นอาจบ่งชี้ถึงการ ทำงานของไตที่ลดลง

          ค่าปกติ 9-20 mg/dL

2. Creatinine

เป็นของเสียที่เกิดจากการสลายกล้ามเนื้อ ที่สามารถตรวจพบได้ในเลือด และถูกขับออกทางไตด้วยปริมาณคงที่ในแต่ละวัน เมื่อไต ทำงานผิดปกติก็จะส่งผลต่อการกำจัด creatinine ในเลือด ดังนั้นการตรวจวัดระดับ creatinine สามารถบ่งชี้การทำงานของไตได้

          ค่าปกติ 0.66-1.25 mg/dL

1. Total protein

คือปริมาณโปรตีนรวมในกระแสเลือด (Albumin+globulin) ซึ่งควรจะมีปริมาณให้เพียงต่อการใช้พอดี ๆ ในกรณีที่มีน้อยเกินไปหรือมากเกินไปก็ย่อมแสดงถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นในร่างกาย 

ค่าปกติ 6.3-8.2 g/dL

2. Albumin (อัลบูมิน)

คือโปรตีนชนิดหนึ่งที่ลอยได้ในกระแสเลือดที่ถูกผลิตขึ้นจากตับและมีปริมาณมากกว่าโปรตีนชนิดอื่น

ค่าปกติ 3.5-5.0 g/dL

3. Globulin (โกลบูลิน)

คือโปรตีนสำคัญของ Total protein อีกตัวหนึ่งที่ล่องลอยอยู่ในพลาสมาหรือในกระแสเลือด ซึ่งมีปริมาณรองลงมาจาก Albumin มีบทบาทสำคัญในการเป็นพาหนะให้เซลล์เม็ดเลือดขาวให้มาจับติดเกาะกันให้สามารถล่องลอยไปในกระแสเลือดเพื่อทำลายล้างจุลชีพก่อโรค

ค่าปกติ 2.3-3.4  g/dL

4. Total bilirubin

คือค่าบิลิรูบินทั้งหมด โดยบิลิรูบินนั้นเกิดมาจากการทีjเม็ดเลือดแดงหมดอายุขัยและถูกทำลาย ที่ม้าม ทำให้ได้สาร bilirubin

ค่าปกติ  0.2-13 mg/dL

5. Direct bilirubin

คือบิลิรูบินชนิดที่ละลายน้ำได้ ซึ่งเกิดจากการที่ตับนำเอา Bilirubin ที่ลอยอยู่ในกระแสเลือดมาผสมเข้ากับกรดชนิดหนึ่งจนมันมีคุณสมบัติสามารถละลายน้ำได้และเป็นสารของเหลวสีเหลืองที่พร้อมที่จะถูกทิ้งออกนอกร่างกายโดยอวัยวะตับและไต

ค่าปกติ 0.0-0.3  mg/dL

6. เอนไซม์ตับ (SGOT)

 เป็นเอนไซม์ ที่พบได้ในเซลล์ตับ และยังสามารถพบได้ในอวัยวะอื่น ๆ เช่น หัวใจ หรือกล้ามเนื้อลาย ด้วยเหตุนี้ AST จึงมีความจำเพาะ ต่อตับน้อยกว่า ALT โดยปกติมักตรวจคู่กับ ALT เพื่อประเมินการทำงานของตับเบื้องต้น

ค่าปกติคือ 0-40 IU/L

7. เอนไซม์ตับ (SGPT)

เป็นเอนไซม์ชนิดหนึ่งที่พบได้ในเซลล์ตับ ดังนั้นค่า ALT ที่ตรวจพบในกระแสเลือดสามารถบ่งชี้หน้าที่และความผิดปกติที่เกิดที่เซลล์ตับ

ค่าปกติคือ 0-40 IU/L

8. การทำงานของตับ (ALP)

ค่าปกติของ ALP ในผู้ใหญ่ คือ 30 – 120 U/L หากมีค่ามากกว่าปกติจะนึกถึง การมีโรคของการอุดตันในระบบท่อน้ำดี นิ่วในท่อน้ำดี หรือโรคที่มีเนื้องอกหรือก้อนหรือรอยโรคในตับ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุ

9. GGT หรือ Gamma GT

เป็นเอมไซม์ที่สร้างจากตับช่วยในการล้างสารพิษและจะเพิ่มมาก

          ค่าปกติ 15-73 U/L