PM 2.5 ภัยเงียบที่มองไม่เห็น
pm 2.5 คือฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ขนาดเล็กมีอันตรายและความเสียหายของระบบพบว่าฝุ่น pm 2.5 ได้ในบรรยากาศทั่วไป
pm 2.5 คือฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ขนาดเล็กมีอันตรายและความเสียหายของระบบพบว่าฝุ่น pm 2.5 ได้ในบรรยากาศทั่วไป
โรคพร่องเอนไซม์ G6PD พันธุกรรมจากพ่อแม่สู่ลูก โรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากภาวะขาดเอนไซม์ G6PD (glucose-6-phosphate dehydrogenase) ซึ่งเป็นเอนไซม์สำคัญในเซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกายโดยเฉพาะเซลล์เม็ดเลือดแดง มีหน้าที่ช่วยป้องกันเซลล์ต่างๆ จากการทำลายของสารอนุมูลอิสระ ผู้ที่มีภาวะขาดเอนไซม์นี้จึงมีเซลล์เม็ดเลือดแดงที่แตกง่ายเมื่อได้รับสิ่งกระตุ้นต่างๆ เช่น อาหารบางชนิด ยาบางชนิด ภาวะติดเชื้อ ทำให้เกิดอาการต่างๆ ตามมา สาเหตุของโรคพร่องเอนไซม์ G6PD โรคนี้เป็นโรคถ่ายทอดทางพันธุกรรมชนิดหนึ่ง โดยมีการถ่ายทอดแบบยีนด้อยของโครโมโซมเอ็กซ์ (X-linked recessive) จากมารดาสู่ทารก ทำให้ลูกชายมีโอกาสที่จะมีภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD ร้อยละ 50 ส่วนลูกสาวมีโอกาสที่จะเป็นพาหะของโรคนี้ร้อยละ 50 อาการของโรคพร่องเอนไซม์ G6PD เมื่อผู้ที่มีภาวะนี้ได้รับการกระตุ้นให้เกิดการแตกของเม็ดเลือดแดง จะมีอาการต่างๆ ดังนี้ ผิวซีดจาง อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ตัวเหลือง ตาเหลือง ในทารกแรกเกิดที่มีภาวะนี้อาจเกิดภาวะตัวเหลืองตั้งแต่แรกเกิด ปัสสาวะมีสีเข้มคล้ายน้ำโคล่าหรือน้ำปลา ตับหรือม้ามโต ปวดหัวบ่อยๆ ปัจจัยกระตุ้นให้เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก อาหารบางชนิด เช่น พืชตระกูลถั่วโดยเฉพาะถั่วปากอ้า บลูเบอรี่ ไวน์แดง สารเคมี เช่น ลูกเหม็น การบูร…
กินเค็ม เสี่ยงโรค คนไทยส่วนใหญ่จะมีพฤติกรรมการเติมเครื่องปรุงรส เช่น น้ำปลา เกลือ หรือซอสปรุงรส ในการประกอบ อาหารหรือเติมลงในอาหารโดยตรง เพื่อเพิ่มรสชาติของอาหาร ทำให้คนไทยเสี่ยงได้รับปริมาณโซเดียมเกินกว่า ความต้องการในแต่ละวัน ส่งผลให้ร่างกายได้รับโซเดียมในปริมาณสูงเกินความต้องการ จึงต้อง ขับโซเดียมส่วนที่เกินออกจากร่างกาย แต่โซเดียมยังเป็นสารที่จำเป็นต่อร่างกาย โซเดียมเป็นแร่ธาตุสำคัญที่เกี่ยวกับ สมดุลน้ำของร่างกาย ซึ่งจะได้รับจากอาหารเป็นหลัก ร่างกายไม่สามารถขาดโซเดียมได้ จึงยังต้องบริโภคอยู่ภายใต้ การจำกัดในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ควรบริโภคเกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน หรือประมาณ 1 ช้อนชา และถ้าหากเปลี่ยน เกลือเป็นน้ำปลา ไม่ควรบริโภคน้ำปลาเกิน 4 ช้อนชาต่อวัน การกินอาหารรสเค็มมีข้อเสียหลายประการ และเป็นหนึ่งในสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหาสุขภาพต่างๆ เช่น ความดันโลหิตสูง การบริโภคโซเดียมมากเกินไปสามารถเพิ่มระดับความดันโลหิต ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หัวใจและหลอดเลือดเกิดความตึงเครียด ปัญหาเกี่ยวกับไต การบริโภคเกลือมากเกินไปอาจสร้างภาระให้กับไต อาจทำให้ไตเสียหายหรือทำให้ภาวะไตแย่ลงได้ ภาวะน้ำคั่ง การบริโภคเกลือในปริมาณสูงอาจทำให้ร่างกายกักเก็บน้ำไว้เกิน ทำให้ท้องอืดและบวม โดยเฉพาะที่มือ เท้า และข้อเท้า เพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูงซึ่งเป็นผลมาจากการบริโภคเกลือมากเกินไปเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญสำหรับโรคหัวใจ รวมถึงอาการหัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมอง โรคกระดูกพรุน เกลือในอาหารมากเกินไปอาจทำให้ร่างกายขับแคลเซียมออก ซึ่งจำเป็นต่อการรักษากระดูกให้แข็งแรง ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนได้…
นิ่วในไต โรคที่คนไม่ค่อยรู้จัก เป็นภาวะที่มีการก่อตัวของแร่ธาตุแข็งและเกลือสะสมในไต การสะสมเหล่านี้เรียกว่านิ่วในไต ขนาดและรูปร่างอาจแตกต่างกันไป และอาจประกอบด้วยสารต่างๆ เช่น แคลเซียม ออกซาเลต กรดยูริก และซีสทีน นิ่วในไตอาจทำให้เกิดอาการปวดอย่างรุนแรงเมื่อเคลื่อนผ่านทางเดินปัสสาวะ ซึ่งนำไปสู่อาการต่างๆ เช่น ปวดหลังหรือปวดท้อง ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะบ่อย และรู้สึกแสบร้อนขณะปัสสาวะ การรักษาอาจจะการใช้ยาเพื่อช่วยให้ก้อนนิ่วเคลื่อนผ่าน การดื่มน้ำมากๆ เพื่อล้างนิ่วออก หรือในกรณีที่รุนแรงกว่านั้น การผ่าตัด สิ่งสำคัญคือต้องปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสม อาการของนิ่วในไต ปัสสาวะเป็นเลือด หรืออาจมีสีแดง ชมพู และน้ำตาล ปัสสาวะแล้วเจ็บ ปวดปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะน้อย ปัสสาวะขุ่นหรือมีกลิ่นแรง คลื่นไส้ อาเจียน หนาวสั่น เป็นไข้ นิ่วในไตป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาพของตัวเอง โดยวิธีที่ดีที่สุดและทำได้ง่าย ๆ คือ การดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวันเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ และเป็นการลดความเข้มข้นของปัสสาวะซึ่งเสี่ยงต่อการพัฒนาไปเป็นนิ่วในไตทั้งนี้ น้ำผลไม้ ชา และกาแฟเองก็ดื่มทดแทนน้ำได้ แต่การดื่มน้ำก็ยังคงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในการป้องกันนิ่วในไต
โรคอ้วน ขึ้นง่ายลดยาก ภาวะที่ร่างกายมีการสะสมไขมันมากเกินกว่าปกติหรือมากเกินกว่าที่ร่างกายจะเผาผลาญ จึงสะสมพลังงานที่เหลือเอาไว้ในรูปของไขมันตามอวัยวะต่างๆ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพ และเป็นสาเหตุของการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ ตามมา สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอ้วน แบ่งออกเป็น ปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก ซึ่งส่วนใหญ่แล้วผู้ที่เป็นโรคอ้วน มักมีสาเหตุจากปัจจัยภายนอก เพราะมีพฤติกรรมการรับประทานที่ตามใจตนเอง จนทำให้รับประทานเกินความต้องการของร่างกาย สาเหตุของโรคอ้วน การรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ การเลือกบริโภคอาหารที่มีแคลอรีสูง ไขมันอิ่มตัว น้ำตาล และอาหารแปรรูปเป็นประจำอาจจะทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นและเป็นโรคอ้วนได้ ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตในแต่ละวัน การขาดการออกกำลังกายและดำเนินชีวิตแบบนั่งประจำอาจทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นและเป็นโรคอ้วนได้ การใช้เวลามากเกินไปในการนั่งหรือทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวน้อยที่สุดอาจส่งผลให้ได้รับแคลอรี่มากเกินไปและใช้พลังงานน้อยลง ปัจจัยทางพันธุกรรม บุคคลบางคนอาจมีความโน้มเอียงทางพันธุกรรมต่อโรคอ้วน ทำให้ยากขึ้นสำหรับพวกเขาที่จะรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันมักจะมีผลต่อโรคอ้วนได้ เช่น การรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ปัจจัยทางจิตใจ ปัจจัยทางอารมณ์ เช่น ความเครียด ความหดหู่ และความเบื่อ อาจนำไปสู่การกินมากเกินไปหรือใช้อาหารเป็นกลไกในการเผชิญปัญหาหรือเพื่อลดความเครียดอาจจะมีผลต่อน้ำหนักและเกิดโรคอ้วนตามมาในอนาคต ยา ยาบางชนิด เช่น ยากล่อมประสาท ยารักษาโรคจิต คอร์ติโคสเตียรอยด์ และยาฮอร์โมนบางชนิด อาจทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็นผลข้างเคียง การนอนพักผ่อนไม่เพียงพอ การนอนพักผ่อนที่ไม่เพียงพอสามารถรบกวนการควบคุมฮอร์โมนของร่างกายอาจจะนำไปสู่ความหิวและความอยากอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น หากมองเพียงเรื่องน้ำหนักมาก ขนาดตัวที่ใหญ่ ใส่เสื้อผ้าไม่มั่นใจ ล้วนเป็นเรื่องของบุคลิกภาพ ความสวยความงาม นับว่ากลายเป็นเรื่องเล็กไปเลย หากเทียบกับสิ่งที่จะตามมาเมื่อเป็นโรคอ้วน…
มะเร็งปากมดลูก อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม Human Papillomavirus (HPV) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบบ่อยในประเทศไทยเป็นที่แพร่หลายอย่างมาก และมะเร็งปากมดลูกเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญการติดเชื้อ HPV ที่มีความเสี่ยงสูงในสตรีไทยที่มี CIN 2-3 (รอยโรคระยะก่อนเป็นมะเร็ง) ที่พบมากที่สุดในผู้หญิงไทยที่มี CIN 2-3 คือ HPV 16 (38.5%) และ HPV 58 มะเร็งปากมดลูกเป็นหนึ่งในมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิงไทย และการติดเชื้อ HPV เป็นสาเหตุหลักนอกจากนี้ HPV ยังเชื่อมโยงกับมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์อื่น ๆ และมะเร็งศีรษะและคอในประเทศไทย ดังนั้นจึงมีความจำเป็นสำหรับการตรวจคัดกรองเชื้อ HPV อย่างสม่ำเสมอและการรณรงค์เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญในตรวจหาเชื้อ HPV และป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ HPV การติดเชื้อ HPV อาจได้รับอิทธิพลจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้ กิจกรรมทางเพศ HPV ส่วนใหญ่ติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ได้แก่ การมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก และทางปาก การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางเพศที่ไม่ได้ป้องกันกับคู่นอนที่ติดเชื้อจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อ HPV การมีคู่นอนหลายคน การมีคู่นอนหลายคนจะเพิ่มโอกาสในการสัมผัสกับผู้ที่มีเชื้อ HPV ยิ่งคุณมีคู่นอนมากเท่าใด ความเสี่ยงต่อการสัมผัสไวรัสก็จะยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง บุคคลที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ…
การลดน้ำหนักของคน กรุ๊ปเลือด O คนกรุ๊ป O เป็นกรุ๊ปที่มีระบบการย่อยอาหารจำพวกเนื้อได้ดีกว่ากรุ๊ปอื่นๆ และน้ำย่อยในระบบย่อยอาหารมีความเป็นกรดสูง แต่ระบบบเผาผลาญไม่ค่อยดี ระดับฮอร์โมนไทรอยด์ไม่ค่อยคงที่จึงทำให้อ้วนง่าย และพบปัญหาเลือดแข็งตัวช้า เนื่องจากระดับฮอร์โมนไทรอยด์และสารไอโอดีนในร่างกายค่อนช้างต่ำ ซึ่งสารไอโอดีนนั้นเป็นสารประกอบที่ช่วยควบคุมฮอร์โมนไทรอยด์ หากขาดไปอาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียงค่างๆได้ เช่น โรคอ้วน และสภาวะบวมน้ำ ดังนั้นคนกรุ๊ป O ควรเน้นการทานอาหารประเภทโปรตีนและไอโอดีนสูง เช่น อาหารทะเล หรือสาหร่ายทะเลเพิ่มขึ้น ซึ่งการรับประทานอาหารทะเลได้เป็นประจำจะสามารถช่วยในการป้องกันโรคเลือดไม่แข็งตัวและไทรอยด์ แต่ต้องระวังเรื่องไขมันและ คอเลสเตอรอลด้วย อาหารที่คนกรุ๊ป O ควรหลีกเลี่ยง อาหารประเภทแป้งสาลี ข้าวโอ๊ต และถั่วต่างๆ ส่วนผักตระกูลกะหล่ำควรหลีกเลี่ยงเพราะมีผลต่อไทรอยด์ เห็ดหอมและมะกอกดองอาจจะทำให้เกิดอาการแพ้ มะเขือยาวและมันฝรั่งอาจจะทำให้เกิดอาการปวดข้อ ควรเลี่ยงแคนตาลูป มะพร้าว และส้มเพราะกรดสูงเกินไป อาหารที่แนะนำให้คนกรุ๊ป O รับประทาน สำหรับผักผลไม้ทานได้แทบทุกชนิด ผักกาดคอส ปวยเล้ง หอมหัวใหญ่ สาหร่าย โดยเฉพาะบรอกโคลี ผักโขม ที่มีวิตามิน K สูง จะสามารถช่วยในการแข็งตัวของเลือด โดยเฉพาะผลมืที่มีสีแดงตระกูลเบอร์รี่ (ยกเว้นแบล็อคเบอร์รี่) ตระกูลเกรปฟรุต จะช่วยเรื่องลดน้ำหนัก…
โรคไข้เลือดออก ภัยจากยุงลาย โรคติดต่อที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue Virus) โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งมี 4 สายพันธุ์ ได้แก่ DENV-1, DENV-2, DENV-3 และ DENV-4 ซึ่งเป็นโรคที่ต้องระวังในช่วงหน้าฝน เนื่องจากการเพิ่มจำนวนของยุงลายซึ่งเป็นพาหะของโรค ส่งผลให้เกิดการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว โรคไข้เลือดออกแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะไข้ (2-7 วัน) ผู้ป่วยจะมีไข้สูงเฉียบพลันตลอดเวลา ปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูก ไม่มีน้ำมูกหรือไอ มีจุดเลือดเล็กบริเวณแขน ขา ลำตัว รักแร้ อาจเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายอุจจาระสีดำร่วมด้วย ระยะวิกฤติ (24-48 ชั่วโมง) ระยะนี้ไข้ที่สูงจะเริ่มลดลง แต่อาการจะทรงตัว ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อนอาการจะเริ่มดีขึ้น แต่ถ้ามีภาวะแทรกซ้อนอาการจะแย่ลง อาจมือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเบาลง ความดันต่ำ เลือดออกง่าย อาเจียนเป็นเลือดฯลฯ อาจร้ายแรงถึงขั้นช็อกจนเสียชีวิต ดังนั้นหากมีไข้สูงติดต่อกันเกิน 2…
ตรวจภูมิแพ้ด้วยการเจาะเลือด มีข้อดีอย่างไร โรคภูมิแพ้ เกิดจากการอักเสบของอวัยวะในแต่ละส่วนของร่างกาย มักพบได้ในเด็กเล็กถึงเด็กโต โดยในแต่ละช่วงวัยจะพบโรคภูมิแพ้ที่แตกต่างกันออกไปการทดสอบภูมิแพ้ทำโดยวิธีใดได้บ้าง วิธีการทดสอบภูมิแพ้ 2 วิธี 1. การทดสอบโดยการสะกิดผิว (Skin prick Test) คือการนำสารสกัดภูมิแพ้มาหยอดลงบนผิวหนัง โดยตำแหน่งที่นิยมทำ คือ ท้องแขนหรือหลัง จากนั้นใช้ปลายเข็มสะกิดเพื่อให้น้ำยาสามารถซึมเข้าสู่ใต้ผิวหนัง สังเกตปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายต่อสารก่อภูมิแพ้ ประมาณ 15-20 นาที 2. การทดสอบโดยการเจาะเลือดตรวจค่าการแพ้ต่อสารก่อภูมิแพ้โดยตรง (Specihc IgE) ซึ่งสามารถตรวจได้ทั้งภูมิแพ้อาหาร เช่น นมวัว ไข่แดง ไข่ขาว แป้งสาลี ถั่ว และภูมิแพ้ทางอากาศ เช่น ไรฝุ่น ขนสุนัข ขนแมว ข้อดีของการทดสอบโดยการเจาะเลือด สามารถทดสอบในเด็กที่ไม่สามารถทำโดยการสะกิดทางผิวหนังได้ เช่น ผู้ที่มีอาการแพ้รุนแรงจำเป็นต้องใช้ยาแก้แพ้ต่อเนื่องไม่สามารถหยุดยาได้ ผู้ที่เคยมีการแพ้อย่างรุนแรงต่อสารที่ต้องการทดสอบ เช่น เคยแพ้อาหารที่สงสัย หรือสารที่ต้องการทดสอบอย่างรุนแรงชนิด anaphylaxis มาก่อน การทดสอบผิวหนังแบบสะกิดอาจกระตุ้นให้มีอาการได้ขณะทดสอบ ดังนั้นการเจาะเลือดจึงเหมาะสมกว่า สามารถทำในเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือนได้
5 โรคมะเร็งยอดฮิต ที่คนไทยเป็นมากที่สุด 1. มะเร็งตับ เป็นโรคที่พบมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ซึ่งพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงถึง 3 เท่า ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 30- 70 ปี โรคมะเร็งตับในระยะแรกมักไม่แสดงอาการ ซึ่งกว่าจะได้รับการวินิฉัยก็มักจะอยู่ในท้ายโรคและไม่สามารถรับการรักษาได้ทัน ส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตมากที่สุด มะเร็งตับมีสาเหตุหลักคือ การได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบ การดื่มแอลกอฮอล์ รับสารพิษอะฟลาท็อกซิน (Aflatoxin) การรับยาบางชนิด และพันธุกรรม เป็นต้น 2. มะเร็งปอด ปัจจุบันมะเร็งปอดเป็นโรคมะเร็งที่พบมากในประเทศไทย โดยพบในเพศชายเป็นอันดับ 2 และในเพศหญิงเป็นอันดับ 4 พบว่าสาเหตุหลักของมะเร็งปอดมาจากการสูบบุหรี่ หรือรับควันบุหรี่ โดยอาการเริ่มแรกมักมีการไอเสมหะหรือไอมีเลือด เจ็บหน้าอก หายใจดังและถี่ ความอยากอาหารลดลง เป็นต้น 3. มะเร็งปากมดลูก เป็นหนึ่งในโรคมะเร็งที่สร้างความกังวลใจให้กับผู้หญิงจำนวนมาก เนื่องจากเป็นโรคที่มีโอกาสเกิดได้ง่าย จึงไม่น่าแปลกใจที่ในแต่ละปีจะพบผู้ป่วยรายใหม่มากถึง 500,000 คนทั่วโลก และยังเป็นอันดับต้นๆ ของโรคมะเร็งในผู้หญิงไทย มักพบในช่วงอายุ 30-70 ปี 4. มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับที่ 1…
ต้องใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาผลงานและประสบการณ์ที่ต้องใช้ก่อนหน้านี้ในรายละเอียดการศึกษาได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว การจัดการพื้นที่เองได้เองโดยการควบคุม การตั้งค่า
คำเตือนคุกกี้โดยเปิด/ปิดคุกกี้ในแต่ละประเภทได้ยกเว้นคุกกี้คุกกี้
ยอมรับทั้งหมด