“วัณโรค”

โรคร้ายที่ควบคุมได้หากรู้ตัวทัน

ประเทศไทยเป็น 1 ใน 14 ประเทศที่ภาวะวัณโรคมาเกี่ยวข้อง ซึ่งประเทศไทยมีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับมาเป็นซ้ำมากถึง 119,000 รายเลยทีเดียว ซึ่งผู้ป่วยขึ้นทะเบียนรักษาโรควัณโรคนี้มีผู้ป่วยที่กลับมาเป็นซ้ำได้อีกด้วย ด้วยเหตุนี้จึงนับว่าวัณโรคเป็นโลกที่น่ากลัวมากเลยทีเดียว

วัณโรคเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า ไมโครแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium tuberculosis หากแบคทีเรียไปเกาะติดกับส่วนใดส่วนหนึ่งในร่างกาย จากนั้นแบคทีเรียจะเพิ่มจำนวนขึ้น ส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถป้องกันตนเองได้ จึงเกิดเชื้อวัณโรคขึ้นมา

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรควัณโรค

  • ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หรือเป็นโรคเอดส์
  • การทำเคมีบำบัดเพื่อรักษาโรคมะเร็ง
  • การใช้สารบางอย่างอย่างการสูบบุหรี่
  • ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
  • โรคพิษสุราเรื้อรัง

ส่วนใหญ่มักพบว่าบริเวณที่ติดเชื้อบ่อยของวัณโรคจะอยู่บริเวณช่วงปอด ทว่าการติดเชื้อวัณโรคสามารถติดที่ส่วนอื่นที่ร่างกายได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นกระดูก ต่อมน้ำเหลือง และสมอง เหล่านี้เป็นต้น

การติดต่อของโรควัณโรคสามารถติดต่อได้ผ่านการไอ การจาม เมื่อละอองฝอยเสมหะออกมาจากตัวผู้ป่วยฟุ้จะงกระจายในอากาศ ทำให้หากคนปกติได้รับเชื้อเหล่านี้เข้าไปจะกลายเป็นวัณโรคอีกด้วย ทว่าเชื้อวัณโรคจะสามารถตายได้เมื่อถูกรังสีอัลตราไวโอเลตอีกด้วย

อาการของวัณโรคสามารถแบ่งออกได้ 2 ระยะ

หากผู้ป่วยได้รับเชื้อวัณโรคเข้าไปแล้ว ในขั้นแรกจะไม่มีอาการแสดงให้เห็น เนื่องจากเชื้อไม่ได้รับการกระตุ้นแต่ยังมีเชื้ออยู่ในร่างกาย

เป็นระยะที่เชื้อวัณโรคจะกระตุ้นจนทำให้เกิดอาการ เช่น อาการไอเรื้อรัง มีอาการไอเป็นเลือด เจ็บหน้าอก หรือรู้สึกเจ็บเวลาหายใจ หรือไอ อ่อนเพลีย มีไข้ มีอาการหนาวสั่น อาการเหงื่อออกในเวลากลางคืน น้ำหนักลด และมีความอยากอาหารลดลงอีกด้วย

สำหรับวิธีการรักษาวัณโรคสามารถทำได้ด้วยการรับประทานยา เช่นไอโซไนอาซิด (Isoniazid) ไรแฟมพิซิน (Rifampicin) อีแทมบูทอล (Ethambutol) และ ไพราซินาไมด์ (Pyrazinamide) ควรรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ ทว่าหากผู้ป่วยมีอาการดื้อยา แพทย์จำเป็นต้องใช้ยาตัวอื่นร่วมด้วยเพื่อให้การรักษาเต็มประสิทธิภาพ เช่นยาสเตรปโตมัยซิน (Streptomycin) และยาลีโวฟลอกซาซิน (Levofloxacin) อีกด้วย

การรักษาวัณโรคแพทย์จะใช้ยาที่มีผลข้างเคียงรุนแรง และจะเป็นพิษต่อตับ ด้วยเหตุนี้ในการรักษาแพทย์จะสังเกตอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด โดยหากผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และมีความอยากอาหารลดลง หรือมีอาการหายใจลำบาก และมีไข้ติดต่อกันหลายวัน มีปัญหาในเรื่องการามองเห็น หรือผิวสีซีดเหลือง และ มีปัสสาวะสีเข้มขึ้นผิดปกติ ผู้ป่วยควรรีบพบแพทย์เพื่อเข้าสู่การรักษาในลำดับถัดไป

การป้องกันโรควัณโรคสามารถทำได้หลากหลายวิธี เช่น การฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรค หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยวัณโรค หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ที่แออัด สวมหน้ากากอนามัยเมื่อไปที่สาธารณะ และควรตรวจสุขภาพร่างกายประจำปี ควรเอกซเรย์ปอดอย่างน้อยปีละ 1  ครั้ง

โรควัณโรคแม้จะเป็นโรคที่น่ากลัวแต่เราสามารถป้องกันได้เพียงทำตามวิธีข้างต้น เพียงเท่านี้เราก็สามารถห่างไกลวัณโรคได้แล้ว หากสงสัยว่าตนเองอยู่ในกลุ่มเสี่ยงควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อให้แพทย์วินิจฉัยอาการต่อไป