เทคนิคการหายใจหรือปราณายามะ (Pranayama) ที่ใช้ในโยคะก็มีผลเช่นกัน เกี่ยวข้องกับกลุ่มฮอร์โมน แสดงให้เห็นว่าการหายใจลึกๆ ช่วยลดความเครียดและความวิตกกังวล ซึ่งจะลดระดับคอร์ติซอล (Cortisol) และปรับปรุงความสมดุลของฮอร์โมน การฝึกโยคะเป็นประจําทําให้ สุขภาพโดยรวมมีความสมบูรณ์แข็งแรง ควรฝึกเป็นประจํา อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง
เล่นโยคะ ปรับสมดุลฮอร์โมนร่างกาย
วันที่ 21 มิถุนายนของทุกปี จุดเริ่มต้นจากคุณนเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีประเทศอินเดีย ผู้เสนอต่อที่ประชุมสหประชาชาติ และตั้งวันโยคะสากลขึ้นมา ในปัจจุบันโยคะเป็นที่รู้จักและนิยมไปทั่วโลก
โยคะ ส่งผลต่อฮอร์โมน (Hormone) ยังไง?
การฝึกโยคะ เพื่อควบคุมฮอร์โมนผ่านหลายกลไก ประการแรก ท่าทางและการเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับการฝึกโยคะสามารถกระตุ้น ระบบต่อมไร้ท่อซึ่งมีหน้าที่ผลิตฮอร์โมน (Endocrine System) การกระตุ้นนี้สามารถเพิ่มการผลิตฮอร์โมนบางชนิด เช่น เทสโทสเตอโรน (testosterone) และโกรทฮอร์โมน (growth hormone) และลดการผลิตฮอร์โมนอื่นๆ เช่น คอร์ติซอล (Cortisol) และอะดรีนาลีน (Adrenaline)
ข้อดีของการฝึกโยคะ
- เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การทรงตัวและความยืดหยุ่น
- ลดภาวะกล้ามเนื้อตึงตัว
- ช่วยปรับฮอร์โมนต่างๆ ภายใน เช่น ฮอร์โมนแห่งความเครียดฮอร์โมนเพศ
- เพิ่มภูมิคุ้มกันและสุขภาพโดยรวม
- ส่งเสริมการนอนหลับที่ดีขึ้น
- ลดความดันโลหิตและระดับ Cholesterol
ข้อควรระวัง
- ก่อนเริ่มกิจกรรมการออกกําลังกายใหม่ๆ แนะนําให้ปรึกษาแพทย์ของคุณเสมอ
- หากคุณ มีโรคประจําตัวใดๆ เช่น โรคความดัน โรคหัวใจ โรคเบาหวาน คุณแม่ที่กําลังตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ ผู้ที่กําลังเป็นประจําเดือน
- สวมเสื้อผ้าหลวมๆ สบายๆ เพื่อให้คุณเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ
- ฟังเสียงร่างกาย อย่ากดดันตัวเองจนเกินความสามารถ หยุดเล่นโยคะ ถ้ารู้สึกเจ็บปวด
- เริ่มด้วยการวอร์มอัพเสมอเพื่อเตรียมร่างกายให้พร้อมสําหรับการฝึกโยคะ
- เล่นโยคะบนพื้นผิวที่ไม่ลื่นเพื่อป้องกันการบาดเจ็บ
- ดื่มน้ำก่อน/ระหว่าง และหลังการฝึกโยคะ
- หากคุณไม่สามารถทําท่าใดท่าหนึ่งได้ ให้ปรับเปลี่ยนท่าให้เหมาะกับความสามารถของคุณ
การฝึกโยคะ เป็นประจํา ต้องไม่ลืมที่จะตรวจสุขภาพประจําปี อย่างโปรแกรมตรวจสุขภาพตามช่วงวัย ตรวจได้ตั้งแต่ก่อน 35 ปี จนถึง 50 ปี ขึ้นไป หรือ ตรวจฮอร์โมนเพศ เพื่อเช็คดูความแข็งแรงของร่างกายและความสมดุลของฮอร์โมน