มะเร็งเต้านม

…โรคฮิตที่ปลิดชีวิตสตรี

มะเร็งเต้านม

จัดเป็นหนึ่งในโรคร้ายที่สามารถคร่าชีวิตของสุภาพสตรีได้มากที่สุดโดยจัดเป็นอันดับหนึ่งของโลกเลยทีเดียว จากการสำรวจพบว่า สุภาพสตรีที่มีช่วงอายุ 35-55 ปี มีอัตราการเป็นโรคมะเร็งเต้านม ได้มากถึง 10 เปอร์เซ็นต์ เลยทีเดียว สาเหตุหลักของโรคมะเร็งเต้านมเกิดจาก เซลล์ที่อยู่ภายในท่อน้ำนมหรือต่อมน้ำนมผิดปกติ ซึ่งเซลล์เหล่านี้มีการแบ่งตัวที่ผิดปกติทั้งยังไม่สามารถควบคุมเซลล์เหล่านี้ได้ โดยเซลล์เหล่ามี้มักแพร่กระจายบริเวณตามทางเดินน้ำเหลืองไปสู่อวัยวะใกล้เคียง เช่น ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้  ทั้งยังสามารถแพร่กระจายไปยังเซลล์ที่ห่างไกลออกไป ไม่ว่าจะเป็น กระดูก ปอด สมอง ตับ ได้อีกด้วย

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เป็น "โรคมะเร็งเต้านม"

โดยภาวะอ้วนที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งเต้านมร้ายแรงชนิดนี้จะเกิดในสตรีที่หมดประจำเดือน แม้ว่ารังไข่จะหยุดสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายไปแล้ว แต่กลับพบว่ามีปริมาณฮอร์โมนระดับต่ำซึ่งสร้างจากเนื้อเยื่อในร่างกาย ดังนั้นหากมีภาวะอ้วนร่วมด้วยจะส่งผลให้ร่างกายมีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงขึ้น มีผลเพิ่มอัตราความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งเต้านมได้

การสูบบุหรี่ การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด การรับประทานอาหารเสริมฮอร์โมนในสตรีวัยทอง และความเครียดเหล่านี้ล้วนส่งผลให้เกิดโรคร้ายอย่างมะเร็งเต้านมทั้งสิ้น

เป็นสิ่งหนึ่งที่ที่มองข้ามผ่านไม่ได้เลยสำหรับโรคมะเร็งเต้านม เนื่องจากความผิดปกติมักอยู่ที่การกลายพันธุ์ของยีนที่อยู่ในสาย DNA ซึ่งอยู่ภายในเซลล์ และยีนที่กลายพันธุ์นั้นสามารถก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้

สัญญาณความผิดปกติของ โรคมะเร็งเต้านม

นอกเหนือจากการตรวจด้วยตนเอง ยังสามารถตรวจด้วยวิธีการอัลตราซาวด์ โดยเป็นการส่งคลื่นเสียงความถี่สูงเข้าไปในสัมผัสผ่านเนื้อของเต้านม ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้สามารถตรวจจับความแตกต่างของเนื้อเยื่อผิดปกติกับก้อนเต้านมได้อีกด้วย ขณะเดียวกันเรายังสามารถตรวจโรคนี้ผ่านเครื่องแมมโมแกรม (mammogram) ได้อีกด้วย ซึ่งเครื่องจะบันทึกภาพเต้านมในลักษณะดิจิทัล ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้มองเห็นภาพบนจอคอมพิวเตอร์ได้ การตรวจด้วยเครื่องแมมโมแกรม (mammogram) จะมีความแม่นยำในการตรวจสูงอย่างมาก

โรคมะเร็งเต้านมยังสามารถแบ่งได้เป็น 4 ระยะ

วิธีการรักษาโรคมะเร็งเต้านม

  • ผ่าตัดกรณีสงวนเต้า และการผ่าตัดแบบตัดเต้าทิ้ง ในกรณีแบบสงวนเต้าเป็นการผ่าตัดมะเร็งโดยแพทย์ผ่าตัดเฉพาะก้อนมะเร็งออกและรักษาร่วมกับการฉายแสงอีกด้วย
  • การผ่าตัดแบบตัดทิ้งจะจำแนกออกมาอีก 2 กรณีนั่นคือ แพทย์จะตัดเต้านมออกและเก็บผิวหนังไว้ หรือในอีกกรณีนั้นแพทย์จะตัดเต้านมและผิวหนังออก โดยจะใช้ผิวหนังส่วนต่าง ๆ ของผู้ป่วยอย่างกล้ามเนื้อหน้าท้องและส่วนอื่น ๆ มาสร้างเต้านมใหม่ให้กับผู้ป่วย

เป็นการรักษาโดยใช้ยาเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตในเซลล์มะเร็ง โดยจะออกฤทธิ์ไปทั่วร่างกายซึ่งแตกต่างจากการผ่าตัดที่เป็นเฉพาะที่ ในการใช้ยาเคมีบำบัดจะมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว

การใช้รังสีที่มีพลังงานสูงเพื่อหยุดยั้งการเติบโต และแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง มักใช้การฉายแสงร่วมกันกับกรณีสงวนเต้าอีกด้วย การฉายแสงจะใช้เวลาประมาณ 4 สัปดาห์ โดยใช้สัปดาห์ละ 5 วัน และพัก 2 วันเพื่อให้ผิวหนังได้ซ่อมแซมส่วนที่ถูกทำลายอีกด้วย

ยานี้มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตและแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง โดยจะทำให้เซลล์มะเร็งตายด้วยตัวเอง หรือตายด้วยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งในการรักษาวิธีนี้ช่วยลดผลข้างเคียงไปได้มากเลยทีเดียว

โดยจะมีตัวยาแบ่งออกมาเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ ยาที่ออกฤทธิ์แย่งจับตัวกับตัวรับฮอร์โมน กลุ่มยายับยั้งเอนไซม์อะโรมาเทส กลุ่มยายับยั้งการทำงานของรังไข่ และกลุ่มยายับยั้งการทำงานของโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ในสตรีที่มีประจำเดือนอยู่