วิตามินดี (Vitamin D) เป็นวิตามินที่ร่างกายจะสังเคราะห์ขึ้นมา หลังจากที่ผิวหนังได้รับรังสียูวีบี (UVB) จากแสงแดด โดยเฉพาะแสงแดดในช่วง 7-10 โมงเช้า โดยวิตามินดีมีความสำคัญต่อร่างกายในด้านต่าง ๆ มากมาย วิตามินดีพบได้ตามธรรมชาติจากแสงแดดยูวี (UV) และอาหารประเภทไขมันจากปลา น้ำมันตับปลา ตับ ข้าวโอ๊ต เห็ด ไข่แดง และชีส หรือการรับประทานอาหารเสริมที่มีวิตามินดีเป็นส่วนประกอบ
ร้อยละ 90% ของคนไทยพบว่ามีภาวะพร่องวิตามินดี (Vitamin D) แม้ประเทศไทยจะมีแดดออกในทุกฤดู แต่พฤติกรรมของคนไทยมีการป้องกันแสงแดดจากการทาครีมกันแดด และเลี่ยงการทำกิจกรรมนอกอาคารที่จะเจอแดด จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้คนไทยมีภาวะพร่องวิตามิน ดี
วิตามินดี (Vitamin D) สำคัญอย่างไร ?
- ช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดีขึ้น
- ช่วยให้ระบบการสังเคราะห์ฮอร์โมนดีขึ้น
- ช่วยป้องกันโรคภูมิต้านตนเอง (SLE)
- ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน
- ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
สาเหตุของการขาดวิตามินดีคืออะไร?
ผู้ที่เป็นมังสวิรัติและไม่ทานปลา มักจะได้รับวิตามินดีไม่เพียงพอในแต่ละวัน
ทั้งจากการหลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดด และจากการใช้ครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของสาร (SPF) ที่ช่วยลดการดูดซึมแสงแดดเข้าสู่ผิว
โรคที่ส่งผลให้การดูดซึมวิตามินดีลดลง เช่น โรคซีลิแอค โรคโครห์น เป็นต้น นอกจากนี้ การผ่าตัดเพื่อลดขนาดกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กก็อาจทำให้การดูดซึมวิตามินดีลดลงได้เช่นกัน
ความสามารถของผิวหนังในการผลิตวิตามินดีและความสามารถของไตในการแปลงวิตามินดีเป็นรูปแบบที่ใช้งานได้เริ่มลดลง
ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการสังเคราะห์วิตามินดีจากแสงแดดของผิวลดลง
การเตรียมตัวก่อนการตรวจ
- สามารถตรวจได้โดยไม่ต้องงดอาหารและน้ำ
- หากคุณมีโรคประจำตัวและใช้ยาเป็นประจำ กรุณาแจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อขอคำแนะนำด้านสุขภาพ
- หากรับประทานยาคุมกำเนิด หรือใช้ฮอร์โมนเสริม ควรแจ้งประวัติการเข้ารับการตรวจ